2552-10-27

"เรือนไทยอง" ตอนที่ 1 : เมืองยอง

ตอนที่ 1 : เมืองยอง

ที่ตั้ง
เมืองยอง ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยองนั้น ตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงตุง ราว100 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายประมาณ 170 กิโลเมตร บริเวณเมืองยองเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของพม่า มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบกลางหุบเขา แม้ขนาดไม่กว้างใหญ่นัก แต่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำสำคัญไหลผ่าน คือน้ำคาบ น้ำวัง น้ำปุ๋งและน้ำยองซึ่งเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ ไหลไปทางตะวันออกลงสู่แม่น้ำโขงที่ สบยอง

ภูมิประเทศของเมืองยอง

เมืองยองเป็นที่ราบ มีแม่น้ำสายเล็กๆไหลผ่าน ล้อมรอบโดยภูเขา ลักษณะเด่นที่น่าสนใจในการเลือกทำเลที่ตั้งที่คล้ายกับเมืองเชียงใหม่ คือการเลือกที่ดินด้านตะวันตกสูงกว่าด้านตะวันออกในเขตกำแพงเมืองมีลักษณะกลมรีตั้งอยู่บนเนินสูง มีคูน้ำคันดิน และมีประตูเวียง 10 ประตูคือ

1. ประตูเสื้อเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้
2. ประตูหนองเป็ด ทิศตะวันออก
3. ประตูดินแดง ทิศตะวันออก
4. ประตูเป่าเฝ่า (ประตูผี) อยู่ระหว่างบ้านจอมสะหลีกับภูเขา
5. ประตูนาแอง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทางหนองแสน
6. ประตูเจียงหุง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ใกล้พระธาตุจอมโลกม่อน
7. ประตูปางหิ่ง (หัวเวียง) ทิศตะวันตก อยู่หัวเวียงติดเทือกเขา
8. ประตูเหล็ก ทิศตะวันตกเฉียงใต้
9. ประตูหูหูด ทิศใต้ ทางบ้านทุ่ง
10. ประตูผาบ่อง ทิศใต้ บ้านทุ่งน้ำ บ้านม่อน


อาณาเขตและประตูเมืองประจำทิศ คือ
ทิศเหนือ ติดกับดอยปางหนาว มีประตูม่อนแสน
ทิศตะวันตก ติดเทือกเขาซับซ้อน มีประตูปางหิ่ง
ทิศตะวันออก ติดที่ราบ มีประตูป่าแดง
ทิศใต้ ติดกับเมืองพยาก มีประตูเสื้อเมืองและแม่น้ำยองไหลผ่าน
ภูมิประเทศของ สบยอง ภาพที่คณะ


หนองน้ำ มี 3 หนอง คือ
1. หนองแสน อยู่ระหว่างบ้านม่อนแสน พระธาตุจอมเหล็ก บ้านจอมสะหลี
2. หนองคำ อยู่นอกเวียง ไปทางบ้านบัว ใช้เป็นสถานที่เข่งเรือ
3. หนองปู่ถ่อน อยู่บ้านยางม้า เป็นหนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดใน 3 หนอง

กาดในเมือง มี 5 แห่ง คือ
1. กาดหลวง อยู่ในเวียงยอง
2. กาดหัวยาง อยู่บ้านหัวยาง
3 กาดบ้านแพด อยู่บ้านแพด
4. กาดบ้าน(กาดตวง) อยู่บ้านตวง
5. กาดเมืองไร่ อยู่บ้านฮ่องเกย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำเมืองยอง มี 4 แห่ง คือ
1. พระธาตุจอมยอง อยู่ทางบ้านตอง
2. ไม้สะหลีคำ (ต้นโพธิ์คำ) อยู่ทางบ้านจู
3. วัดพระเจ้าหลวง บ้านพระแก้ว
4 ตำหนักพระปี่หลวงป่าบุง บ้านกอลง


ที่มา : “ประเพณีไหว้สาพระธาตุหลวงจอมยอง” ใน สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชาวยอง รากเหง้า ความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลง, เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวาระครบรอบ 200 ปีแห่งการตั้งถิ่นฐานของชาวยองในลำพูนและล้านนา 11-12 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่