ประกอบไปด้วย นํ้าบ่อ หรือบ่อนํ้าสะอาดหน้าบ้านสำหรับบริโภคมี นํ้าถุ้ง หรือถังติดคานกระดกทำจากไม้ไผ่ ใช้สำหรับผ่อนแรงในการตักนํ้า รอบๆ บ่อเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ร่มรื่น บ่อนํ้าหลังบ้านใช้สำหรับอุปโภค ใกล้ๆ บริเวณนั้นมีต๊อมนํ้า เป็นสถานที่อาบนํ้าสำ หรับผู้หญิง มีกำแพงสี่เหลี่ยมบังสายตา ไม่มีหลังคา (ส่วนผู้ชายจะอาบนํ้าในลำคลองหรือบริเวณขอบบ่อ) ส้วมหลุม อยู่บริเวณสวนหลังบ้านห่างไกลกว่าตัวเรือนไม่น้อยกว่า 30เมตร รอบบริเวณบ้านเรือนชาวยองไม่เหมือนกับชาวไตโยนอีกประการหนึ่งคือไม่มีศาลผีปู่ย่า (หรือตายาย) เพราะชุมชนส่วนใหญ่มีวัดเป็นจุดศูนย์กลาง การกราบไหว้บรรพบุรุษจะทำที่วัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน
ด้านสุนทรียภาพ บ้านเรือนชาวยองในอดีตจะนิยมความเรียบง่าย การฉลุลวดลาย ไม้กลึงลูกกรง และชายคาจึงปรากฏเพียงเล็กน้อย และการที่ชาวยองเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงนิยมการตกแต่งประดับประดาวิหาร อุโบสถ หอไตร อย่างทุ่มเท เต็มไปด้วยความวิจิตรอลังการ ส่วนบ้านเรือนของครูช่าง อาจได้รับการตกแต่งพิถีพิถันพอสมควรบริเวณปิดจั่วแต่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับความสวยงามของส่วนตกแต่งประดับประดาหน้าจั่วของชาวไทยวนในเชียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์การใช้ กาแล ตามแบบลัวะ
ด้านสุนทรียภาพ บ้านเรือนชาวยองในอดีตจะนิยมความเรียบง่าย การฉลุลวดลาย ไม้กลึงลูกกรง และชายคาจึงปรากฏเพียงเล็กน้อย และการที่ชาวยองเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงนิยมการตกแต่งประดับประดาวิหาร อุโบสถ หอไตร อย่างทุ่มเท เต็มไปด้วยความวิจิตรอลังการ ส่วนบ้านเรือนของครูช่าง อาจได้รับการตกแต่งพิถีพิถันพอสมควรบริเวณปิดจั่วแต่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับความสวยงามของส่วนตกแต่งประดับประดาหน้าจั่วของชาวไทยวนในเชียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์การใช้ กาแล ตามแบบลัวะ
ต่อมาในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการติดต่อกับชาวตะวันตกและชาวจีนจึงได้รับเอาสถาปัตยกรรมของตะวันตกและจีนเข้ามา เริ่มมีเรือนแบบ “เรือนขนมปังขิง” ที่มีการฉลุครีบหน้าจั่วแบบเพดิเมนท์มีเส้นเว้าเข้าทั้งสองข้างของหน้าจั่วกับเชิงชายอย่างละเอียด มีครีบชายคาหยาดน้ำฝนมีการประดับอาคารประเภทฉลุลวดลาย เสาที่ระเบียงเป็นไม้กลึง ลูกกรง และชายคาด้วยเครื่องมือที่เหมือนแกะจากพิมพ์ขนมปังขิง ช่างชาวยองในลำพูนได้มีการทดลองประสมประสานเอาความงามลวดลายฉลุไม้แบบพื้นถิ่นเข้าไปใช้ประดับตกแต่งเรือนของตน เช่น จั่วและป้านลม ช่องลมหน้าจั่วและช่องลม บานเกล็ด และที่สำคัญคือ สะระไน หรือส่วนประดับทางสถาปัตยกรรมที่ติดอยู่บนยอดจั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำด้วยไม้สี่เหลี่ยมหรือกลึงให้กลมตามลวดลายนิยม จั่วลวดลายฉลุไม้พัฒนามาเป็นอัตลักษณ์ประจำพื้นถิ่นในลำพูน
สะระไน สำหรับชาวบ้าน มักเป็นชิ้นไม้ขนาดเล็กแสดงถึงความเจียมตนและฐานะ ตรงข้ามกับลักษณะ สะระไน เสาธงขนาดใหญ่ บ่งบอกสถานะทางสังคมของเจ้าหลวงผู้ครองนคร
แม่พิมพ์กระเบื้องซีเมนต์ บ้านนายวัง ใจจิตรตำบลมะกอก ภาพ: วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรืองในช่วงระยะเวลาร้อยปีนี้เองช่างชาวยอง ได้พัฒนาสูตรการผสม ปูนสตาย ที่มีความแกร่งคงทน ได้จากการเผาหินปูนนำ และมาหมักเป็นเวลา 3-36เดือนทำให้ได้ปูนขาว แล้วนำปูนขาวมาผสมกับทราย วัสดุเชื่อมประสานจากธรรมชาติ (เช่นนํ้าหนังควาย นํ้าอ้อย หรือยางบง) สู่การพัฒนาเป็นซีเมนต์สำหรับการทำงานก่อสร้าง
ประดับจั่ว กระเบื้องซีเมนต์ แผงปูนระเบียง ลวดลายต่างๆในแต่ละหมู่บ้านไม่ซํ้ากัน กระเบื้องและแผงปูนสวยงามอ่อนช้อยเหล่านี้สามารถทำจากพิมพ์แล้วยกขึ้นไปประกอบในแต่ละแห่ง ปรากฏให้เห็นในพื้นที่จังหวัดลำพูนเท่านั้น โดยเฉพาะที่ตำบลหนองล่องมีเรือนติด แผงปูน สะระไน จำนวนสิบหลังที่มีสภาพดี
การศึกษาทางการช่างสมัยใหม่มีบทบาทมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยมีการตั้งโรงเรียนการช่างไม้ลำพูน ทำให้การก่อสร้างในช่วงหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มีการใช้คอนกรีต แสดงถึงความเป็นสากลมากขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลมีนโยบายปิดสัมปทานป่าไม้ ทำให้ขาดแคลนไม้วัสดุก่อสร้างสำคัญ จึงมีการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนเทคนิคการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาทดแทน เรือนชาวยองแบบเดิมจึงเสื่อมความนิยมไปและทยอยถูกรื้อถอนจนถึงปัจจุบัน