โดยเหตุที่เมืองลำพูนมีลักษณะเฉพาะด้านองค์ประกอบของประชากร ซึ่งแตกต่างไปตามหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา เพราะประชากรส่วนใหญาสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยอง ราว 150 – 180 ปีมาแล้ว เป็นลักษณะการปรับตัวของคนเมืองในลำพูน จึงไม่ใช่เป็นการปรับตัว ในฐานะเป็นคนส่วนน้อยในสังคม แต่กลุ่มชาวยองกลับดำรงอยู่ในฐานะของคนส่วนใหญ่ ของสังคมชาวยองในระดับหมู่บ้าน ในเมืองลำพูนจึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมได้ค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษา
ในกลุ่มผู้นำ ในระยะประมาณ 30 ปี หลังการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน (พุทธศักราช 2348 - 2379) ฝ่ายเจ้าเจ็ดตนที่ปกครองเมืองลำพูน กับกลุ่มเจ้าเมืองยอง ได้มี ส่วนร่วมในการปกครองเมืองลำพูน และให้เกียรติยกย่องกลุ่มเจ้าเมืองยองในระดับหนึ่ง โดยมี การประนีประนอมกันในด้านอำนาจ และผลประโยชน์ เช่น ให้เจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา ตลอดจนขุนนาง แยกออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองต่างหากเป็นสัดส่วน มีการมอบหมายให้กลุ่มเจ้าเมืองยอง ทำหน้าที่เก็บภาษีและผลประโยชน์ในชุมชนชาวยอง และในขณะเดียวกันก็มีการแต่งงานระหว่างกลุ่มเจ้าเมืองและกลุ่มเจ้าเจ็ดตน จนกลายเป็นเครือญาติเดียวกัน
ขณะเดียวกันการศึกษาในระบบโรงเรียนได้ขยายเข้าสู่หมู่บ้านต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาลกลาง สังคมชาวยองในเมืองลำพูน ก็เช่นเดียวกันกับสังคมของคนกลุ่มอื่น ๆ ในล้านนา ได้ถูกกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมส่วนกลางมากขึ้น ในด้านการปกครองรัฐบาลกลางได้เข้ามา มีบทบาทและกำกับต่อท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ และในขณะเดียวกันคนยองในเมืองลำพูนก็ได้ถูกนับให้เป็นพลเมืองสยามเช่นเดียวกัน
ในขณะที่สังคมของชาวยองในเมืองลำพูนได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมส่วนกลาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองสยาม ชุมชนชาวยองในแถบด้านตะวันออกของเมืองลำพูนได้แก่ บ้านหลุก บ้านขาม ห้วยยาบ บ้านธิ และบริเวณที่ติดกับเขตแดนเมืองเชียงใหม่ได้ขยายและกระจายตัวออกไป พบว่าชุมชนในแถบนี้มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มมากขึ้น และประกอบอาชีพการเพาะปลูก และมีวัดประจำหมู่บ้าน
สำหรับสำนึกของชาวยองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน ซึ่งมีลักษณะ และสาเหตุที่หลากหลายซับซ้อนตามกระแสทางสังคมทางโครงสร้างในปัจจุบัน ที่เป็นระบบรวมศูนย์อำนาจท้องถิ่นจะถูกครอบงำจากส่วนกลาง โดยเหตุนี้ ชาวยองจึงไม่ได้แยกสำนึกของตนเองแตกต่างจากคนไทยในที่อื่น ๆ แต่มีผู้คนหลายกลุ่มในเมืองลำพูนได้เริ่มหันมาพูดและสร้างสำนึกที่หลากหลายในรูปแบบของความเป็น “คนยอง” ในกระแสการให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นในด้านวัฒนธรรม และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สังคมของชาวยองในเมืองลำพูน จึงมีการพัฒนาจากการอยู่ร่วมกันของคนกลุ่มต่าง ๆ และมีการผสมผสานกัน ที่มีคนยองเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในโครงสร้างทางสังคมที่อำนาจและการตัดสินใจมาจากส่วนกลาง ชาวยองจึงไม่ได้แยกสำนึก ของตนเองออกไปจากคนไทยกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด ยกเว้นแต่มีคนยองบางส่วนได้เริ่มหันมาพูดและสร้างกระแสให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นของตน ในด้านสังคมวัฒนธรรมและภูมิหลัง ของประวัติศาสตร์ ดังนั้นการเข้าใจถึงประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของ ชาวยองในเมืองลำพูน จึงเป็นกรณีหนึ่งที่มีส่วนอย่างสำคัญ ในการอธิบายและทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของท้องถิ่นบนพื้นฐานของความหลากหลาย การผสมผสานทางวัฒนธรรมซึ่งทำให้มองเห็นประวัติศาสตร์ของคนไทยจากแง่มุมของท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น
ในกลุ่มผู้นำ ในระยะประมาณ 30 ปี หลังการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน (พุทธศักราช 2348 - 2379) ฝ่ายเจ้าเจ็ดตนที่ปกครองเมืองลำพูน กับกลุ่มเจ้าเมืองยอง ได้มี ส่วนร่วมในการปกครองเมืองลำพูน และให้เกียรติยกย่องกลุ่มเจ้าเมืองยองในระดับหนึ่ง โดยมี การประนีประนอมกันในด้านอำนาจ และผลประโยชน์ เช่น ให้เจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา ตลอดจนขุนนาง แยกออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองต่างหากเป็นสัดส่วน มีการมอบหมายให้กลุ่มเจ้าเมืองยอง ทำหน้าที่เก็บภาษีและผลประโยชน์ในชุมชนชาวยอง และในขณะเดียวกันก็มีการแต่งงานระหว่างกลุ่มเจ้าเมืองและกลุ่มเจ้าเจ็ดตน จนกลายเป็นเครือญาติเดียวกัน
ขณะเดียวกันการศึกษาในระบบโรงเรียนได้ขยายเข้าสู่หมู่บ้านต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาลกลาง สังคมชาวยองในเมืองลำพูน ก็เช่นเดียวกันกับสังคมของคนกลุ่มอื่น ๆ ในล้านนา ได้ถูกกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมส่วนกลางมากขึ้น ในด้านการปกครองรัฐบาลกลางได้เข้ามา มีบทบาทและกำกับต่อท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ และในขณะเดียวกันคนยองในเมืองลำพูนก็ได้ถูกนับให้เป็นพลเมืองสยามเช่นเดียวกัน
ในขณะที่สังคมของชาวยองในเมืองลำพูนได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมส่วนกลาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองสยาม ชุมชนชาวยองในแถบด้านตะวันออกของเมืองลำพูนได้แก่ บ้านหลุก บ้านขาม ห้วยยาบ บ้านธิ และบริเวณที่ติดกับเขตแดนเมืองเชียงใหม่ได้ขยายและกระจายตัวออกไป พบว่าชุมชนในแถบนี้มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มมากขึ้น และประกอบอาชีพการเพาะปลูก และมีวัดประจำหมู่บ้าน
สำหรับสำนึกของชาวยองนั้น เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน ซึ่งมีลักษณะ และสาเหตุที่หลากหลายซับซ้อนตามกระแสทางสังคมทางโครงสร้างในปัจจุบัน ที่เป็นระบบรวมศูนย์อำนาจท้องถิ่นจะถูกครอบงำจากส่วนกลาง โดยเหตุนี้ ชาวยองจึงไม่ได้แยกสำนึกของตนเองแตกต่างจากคนไทยในที่อื่น ๆ แต่มีผู้คนหลายกลุ่มในเมืองลำพูนได้เริ่มหันมาพูดและสร้างสำนึกที่หลากหลายในรูปแบบของความเป็น “คนยอง” ในกระแสการให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นในด้านวัฒนธรรม และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สังคมของชาวยองในเมืองลำพูน จึงมีการพัฒนาจากการอยู่ร่วมกันของคนกลุ่มต่าง ๆ และมีการผสมผสานกัน ที่มีคนยองเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในโครงสร้างทางสังคมที่อำนาจและการตัดสินใจมาจากส่วนกลาง ชาวยองจึงไม่ได้แยกสำนึก ของตนเองออกไปจากคนไทยกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด ยกเว้นแต่มีคนยองบางส่วนได้เริ่มหันมาพูดและสร้างกระแสให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นของตน ในด้านสังคมวัฒนธรรมและภูมิหลัง ของประวัติศาสตร์ ดังนั้นการเข้าใจถึงประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของ ชาวยองในเมืองลำพูน จึงเป็นกรณีหนึ่งที่มีส่วนอย่างสำคัญ ในการอธิบายและทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของท้องถิ่นบนพื้นฐานของความหลากหลาย การผสมผสานทางวัฒนธรรมซึ่งทำให้มองเห็นประวัติศาสตร์ของคนไทยจากแง่มุมของท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น
การปรับเปลี่ยนตามพลวัตร
อดีต : สังคมของชาวยองในเมืองลำพูนมีพัฒนาการของการอยู่ร่วมกัน ของกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ ทำให้เกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัย
ปัจจุบัน : มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1) คติความเชื่อ : หลักของการสร้างเรือน คือ เปลี่ยนจากการสร้างเรือนพื้นถิ่น หรือเรือนไทยอง โดยทำการรื้อถอน หรือดำแปลงรูแบบบ้านเรือน มาเป็นอาคารก่ออิฐโบกปูน
2) วิถีชีวิต : มีการทำการเกษตรลดน้อยลง เนื่องจากชาวยองสมัยใหม่ นิยมเข้ามาทำงาน ในเมืองตามโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีผู้ที่สืบสานงานทางด้านหัตถกรรม และเกษตรกรรมลดลง
3) วิธีการอนุรักษ์ : ควรส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดความรู้ทางภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยอง หรือประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้คนในชุมชน หรือท้องถิ่นใกล้เคียง หันกลับมาอยู่อาศัยเรือนพื้นถิ่นให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่อาศัยกันโดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ โดยสามารถดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล
4) วัตถุประสงค์ในการครอบครองเรือนไทยอง ปัจจุบันนี้มีการสำรวจพบว่า วัตถุประสงค์ในการครอบครองเรือนไทยองได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม คือ แต่เดิมมีเรือนไว้เพื่อให้เจ้าของได้อยู่อาศัย แต่ในปัจจุบันกลับมีกลุ่มนายทุน ไปหาซื้อเรือนไทยองจากเจ้าของ ที่ต้องการรื้อถอน หรือปรับเปลี่ยนเรือนไทยองของตนให้กลายเป็นอาคารตึกตามสมัยนิยม หลังจากนั้นกลุ่มนายทุนจึงทำการรื้อถอนเรือนไทยองดั้งเดิมที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดลำพูน และย้ายเรือนมาปลูกสร้างใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปรับให้เป็นห้องพัก หรือรีสอร์จ เพื่อใช้ในการพาณิชย์ โดยมีการปรับรูปแบบของพื้นที่ในการใช้สอย รวมไปถึงปรับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมบางส่วน เพื่อให้ตอบรับกับสิ่งอำนวยความสะดวก และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ (Air Condition), เครื่องทำน้ำอุ่น, หรือแม้แต่ฝักบัวอาบน้ำ ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เหล่านี้ มีส่วนทำให้รูปแบบของเรือนไทยองดั้งเดิมนั้น ปรับเปลี่ยนไป และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชาวไทยองได้
ซึ่งถ้าต้องการจะอนุรักษ์โดยการซื้อเรือนไทยอง และย้ายมาปลูกเพื่อทำการอยู่อาศัย โดยไม่มุ่งหวังที่จะประกอบการเชิงพาณิชย์ จะเป็นการสมควรกว่า เพราะเราไม่จำเป็นต้องปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพราะการสร้างเรือนพื้นถิ่นนั้น ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ ดังนั้นเรือนพื้นถิ่นไทยองจึงมีรูปแบบของตัวเรือนที่เหมาะสมกับภาคเหนือ และเจ้าของยังสามารถช่วยอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นไทยองได้อีกด้วย