ในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรมและทัศนะคติของคนในชุมชน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภูมิหลังทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เป็นต้น จึงทำให้บุคคลในชุมชนมีความแตกต่างกัน และรวมไปถึงงานสถาปัตยกรรมยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคน ในปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมได้ถูกออกแบบให้มีความหมายและสามารถสื่อความหมายต่อผู้ใช้สอยได้มากขึ้น โดยความหมายและสำนึกในถิ่นที่กับงานสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบเพื่อสร้างความต่อเนื่องระหว่างงานสถาปัตยกรรมกับบริบทโดยรอบ และยังรวมไปถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังเช่น งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ความแตกต่างเหล่านี้มีทั้งปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และด้านวัฒนธรรม ซึ่งกล่าวถึงลักษณะร่วมในแต่ละภูมิภาค รวมถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างของเรือนพื้นถิ่น อันประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ปัจจัยด้านคติความเชื่อและประเพณี
1. ลักษณะร่วมของเรือนไทยแต่ละภูมิภาค
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร หรือเขตร้อนชื้น สภาพอากาศจึงไม่มีความแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค จึงทำให้เรือนไทยพื้นถิ่นแต่ละภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างในบางส่วนของเรือน ซึ่งความคล้ายคลึงของเรือนพื้นถิ่นนั้นประกอบไปด้วย
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร หรือเขตร้อนชื้น สภาพอากาศจึงไม่มีความแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค จึงทำให้เรือนไทยพื้นถิ่นแต่ละภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างในบางส่วนของเรือน ซึ่งความคล้ายคลึงของเรือนพื้นถิ่นนั้นประกอบไปด้วย
1.2 การยกพื้นเรือน : เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคร้อนชื้นจึงมีฝนตกชุก และเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง ดังนั้นเรือนพื้นถิ่นส่วนใหญจึงยกพื้นสูงเพื่อเป็นการป้องกันภัยจากธรรมชาติดังกล่าว ซึ่งในแต่ละภูมิภาคนั้นจะมีลักษณะการยกพื้นเรือนที่แตกต่างกันไป ตามความเหมาะสมของวิถีชีวิตในท้องถิ่น
2. ความแตกต่างของเรือนไทยแต่ละภูมิภาค
2.1 ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ เป็นที่ทราบกันดีว่างานสถาปัตยกรรมย่อมมีการออกแบบให้มีความสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาพอากาศของท้องถิ่น งานสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นก็เช่นกัน ในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพอากาศที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างของรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม 
2.1.1 เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือ : มีลักษณะใต้ถุนสูงโล่ง แต่มีช่องเปิดค่อนข้างเล็ก นั่นเป็นเพราะสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น และแห้งแล้งในฤดูหนาว จึงต้องการการป้องกันลมหนาวที่จะพัดเข้ามาภายในตัวเรือน แต่ในบางส่วนของเรือนก็ยังคงมีฝาไหล เพื่อใช้ระบายอากาศในฤดูร้อน ที่มีความแตกต่างจากฤดูหนาวเป็นอย่างมาก ส่วนหลังคาเรือนจะมีลักษณะยื่นคลุมพื้นที่ส่วนของเรือนเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันน้ำค้าง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้ ที่ใต้ถุนเรือนก็มีการยกสูงขึ้นเนื่องจากป้องกันน้ำท่วมที่เป็นน้ำป่าในช่วงฤดูฝน และพื้นที่บริเวณใต้ถุนนี้ก็ใช้ทำกิจกรรมได้หลากหลาย ทุก ๆ ส่วนของเรือนภาคเหนือได้รับการออกแบบให้สามารถตอบรับกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รูปลักษณ์ภายนอกจึงมีความเฉพาะตัวที่สามารถสื่อให้เห็นถึงความเป็นภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายที่นำมาตกแต่ง ล้วนเป็นสำนึกในถิ่นที่อันมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
2.2 ปัจจัยด้านคติความเชื่อและประเพณี การดำรงชีวิตของชาวไทยนั้นอยู่ภายใต้คติความเชื่อทั้งทางศาสนาและไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาคู่กันจากอินเดียเข้ามาสู่ไทย มีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับอยู่เหนือธรรมชาติ โดยที่ตาคนธรรมดาไม่สามารถมองเห็นได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า
“ ชนชาวไทยหรือกล่าวอย่างทั่วไปไม่ว่าชนชาวไร่ ทั้งที่เจริญแล้วและยังไม่เจริญ ย่อมมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เป็นส่วนมาก จะแตกต่างกันในทางเปรียบเทียบ ก็มีที่ความเชื่อมาก หรือเชื่อน้อยกว่ากันเท่านั้น และความเชื่อนี้ไม่ใช่มีอยู่ในหมู่ที่เรียนกันว่าชาวบ้านเท่านั้น แม้คนที่เรียกว่า ปัญญาชนก็มีความเชื่ออยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเดิมทีเดียวเรานับถือผี ทั้งนี้ไม่ใช่แต่เราเท่านั้นไม่ว่าจะเป็น จีน แขก ฝรั่ง หรือคนชาติใดภาษาใด ก็ถือผีเป็นสรณะด้วยกัน ตลอดจนถือของขลังศักดิ์สิทธิและโชคลางด้วย ถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ จะต่างกันระหว่างชนชาติหรือผู้ที่ถือก็มีทั้งลักษณะประณีตหรือหยาบกว่ากัน อันเป็นเรื่องปลีกย่อยเท่านั้น หาใช่ต่างกันด้วยมูลฐานแห่งความเชื่อไม่ “ ( พระยาอนุมานราชธน 2512 : 151 )
จะเห็นได้ว่าคนไทยมีความเชื่อและประเพณีมาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่มาช้านานจึงส่งผลถึงลักษณะของเรือนพักอาศัยที่มีรูปแบบต่างๆ ตามความเชื่อ โดยในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันดังนี้
2.2.1 เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือ : เรือนทางภาคเหนือนั้นมีคติแฝงอยู่ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านอันทรงคุณค่า ซึ่งประเพณีการสร้างเรือนนั้นมี 2 กรณีด้วยกันคือ วัฒนธรรมประเพณีเมื่อหญิงชาย แต่งงานเป็นครอบครัวใหม่อยู่ในช่วงสร้างฐานะจะต้องปลูกเรือนไม้บั่วหรือเรือนเครื่องผูกหรือไม้ไผ่ เมื่อมีฐานะมั่นคงจึงปลูกเรือนไม้จริงภายหลัง หรืออาจซื้อเรือนเก่ามาปลูกสร้างใหม่ ส่วนกรณีที่สองคือ เรือนที่มีลูกแต่งงานและย้ายออกไปสร้างเรือนใหม่ จำนวนคนในเรือนน้อยลง ผู้เป็นเจ้าของเรือนเห็นว่าเรือนเดิมมีขนาดใหญ่เกินไป จึงรื้อเรือนแล้วนำไม้บางส่วนมาปลูกเรือนใหม่ให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนสมาชิกที่ยังคงอยู่อาศัยในเรือนเดิม เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่าเรือนพื้นถิ่นทางภาคเหนือจะต้องไม่มีการต่อเติมเรือนอันจะทำให้ไม่เป็นศิริมงคล หากคิดในหลักโครงสร้าง แล้วพบว่ามีความสอดคล้องกันดี และคติความเชื่อที่เกี่ยวกับการปลูกเรือนแต่ดั้งเดิมมีหลายประการเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมไม้ การปลูกเรือน จนกระทั่งการกำหนดทิศทางของตัวเรือนและองค์ประกอบเรือน เพื่อความเป็นศิริมงคลของผู้อยู่อาศัย ส่วนการจัดพื้นที่ภายในเรือนก็มีการคำนึงถึงคติความเชื่อดั้งเดิมด้วย เช่นตำแหน่งของห้องนอนพ่อแม่ควรอยู่ด้านทิศตะวันออกโดยมีห้องนอนลูกอยู่ด้านทิศตะวันตก ซึ่งทุกคนจะหันหัวนอนไปทางหิ้งพระ คือทิศตะวันออก หรือทิศใต้ของเรือนเสมอ จากคติความเชื่อที่มีอยู่ในทุก ๆ จุดของเรือนพื้นถิ่นภาคเหนือทำให้แต่ละส่วนของเรือนมีความหมายและสร้างสำนึกในถิ่นที่ของตัวมันเองได้อย่างลงตัว และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่น
ปัจจัยทางด้านคติความเชื่อ ประเพณี เป็นสิ่งที่หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมของคนไทยตลอดมา และยังมีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่รวมไปถึงงานสถาปัตยกรรมจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเรือนพื้นถิ่นให้มีความแตกต่างกัน แม้รูปลักษณ์ภายนอกของสถาปัตยกรรมอาจมีความคล้ายคลึงกันแต่เมื่อเข้าไปใช้งานสถาปัตยกรรมที่จะต้องปรับประพฤติกรรมตามคติความเชื่อของท้องถิ่น แล้วยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่นั้นมีความแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามในการปลูกสร้างเรือน ทิศทางการวางตัวเรือน และพื้นที่ใช้สอยภายใน ความเชื่อด้านพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ รวมไปถึงความเชื่อด้านเทคนิคการปลูกสร้างเรือนที่มีรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกันไป ซึ่งประเด็นความเชื่อของคนไทยดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่กลับทำให้ความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่ในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน จึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นไทย
งานสถาปัตยกรรม ถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าทางด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสถานที่อันมีความหมายอยู่ในตัว มิใช่แค่ที่อยู่อาศัยเท่านั้น บางกรณีอาจเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา งานสถาปัตยกรรมไทยยังเป็นผลงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกลิ่นอายของงานสถาปัตยกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นสำนึกในถิ่นที่ ซึ่งเป็นความเฉพาะตัวของแต่ละท้องที่ที่สามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้ใช้สอยสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของงานสถาปัตยกรรม และความแตกต่างของสำนึกในถิ่นที่ ดังกล่าวมีปัจจัยหลักคือ ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และปัจจัยด้านคติความเชื่อ ซึ่งสามารถส่งผลในผู้ใช้สอยอาคารเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมให้มีความสอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าว เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีความหลากหลายทางด้านสถาปัตยกรรมและและชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาชีพที่หลากหลาย วัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้างเรือนที่แตกต่างกันไป นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความแตกต่างกันของความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่น รูปทรง สีสัน ฯลฯ อันเป็นองค์ประกอบที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว โดยความหลากหลายของจิตวิญญาณและความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่นั้นทำให้งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีความโดดเด่นควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ทั้งรูปทรงภายนอกและความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่
งานสถาปัตยกรรม ถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าทางด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสถานที่อันมีความหมายอยู่ในตัว มิใช่แค่ที่อยู่อาศัยเท่านั้น บางกรณีอาจเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา งานสถาปัตยกรรมไทยยังเป็นผลงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกลิ่นอายของงานสถาปัตยกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นสำนึกในถิ่นที่ ซึ่งเป็นความเฉพาะตัวของแต่ละท้องที่ที่สามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้ใช้สอยสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของงานสถาปัตยกรรม และความแตกต่างของสำนึกในถิ่นที่ ดังกล่าวมีปัจจัยหลักคือ ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และปัจจัยด้านคติความเชื่อ ซึ่งสามารถส่งผลในผู้ใช้สอยอาคารเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมให้มีความสอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าว เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีความหลากหลายทางด้านสถาปัตยกรรมและและชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาชีพที่หลากหลาย วัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้างเรือนที่แตกต่างกันไป นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความแตกต่างกันของความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่น รูปทรง สีสัน ฯลฯ อันเป็นองค์ประกอบที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว โดยความหลากหลายของจิตวิญญาณและความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่นั้นทำให้งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีความโดดเด่นควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ทั้งรูปทรงภายนอกและความรู้สึกสำนึกในถิ่นที่